หัวใจของการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม
" หัวใจของการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม " ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมเป็นผู้สูงวัยที่มีความบกพร่องในส่วนของการคิดรู้ พฤติกรรม อารมณ์ และความสามารถในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ดังนั้นในการดูแลผู้สูงวัยกลุ่มนี้จึงมีรายละเอียดที่แตกต่างจากการดูแลผู้สูงวัยทั่วไป โดยเป้าหมายหลักในการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมคือมุ่งชะลอความเสื่อมในด้านต่าง ๆ ให้คงอยู่ยาวนานที่สุด ในบทความนี้จะขอสรุปเคล็ดลับหลักสำคัญสำหรับการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่ผู้ดูแลสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ดังนี้
-
การดูแลด้วยความเคารพ : ในการดูแลผู้สูงวัยไม่ว่าท่านจะเจ็บป่วยด้วยกลุ่มโรคใดก็ตาม ผู้ดูแลควรให้การดูแลด้วยความเคารพในความอาวุโสและความเป็นมนุษย์ของท่าน โดยให้การดูแลอย่างอ่อนโยน นิ่มนวล และสุภาพเรียบร้อย
-
การดูแลโดยผู้มีภาวะสมองเสื่อมเป็นศูนย์กลาง : คำว่าเป็นศูนย์กลางคือการดูแลเพื่อตอบสนองให้ตรงกับความต้องการของผู้มีภาวะสมองเสื่อมมากกว่าความต้องการของผู้ดูแล ทั้งนี้เพื่อให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมได้รับการดูแลที่เหมาะสมกับตนเอง และจะช่วยทำให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมร่วมมือในการดูแลมากยิ่งขึ้น
-
การดูแลโดยคำนึงถึงความเป็นตัวตน : ปัญหาการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมแต่ละรายส่วนใหญ่อาจมีความคล้ายคลึงกัน เช่น ต่อต้านผู้ดูแลในการทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่ปัญหาเดียวกันอาจมีวิธีการตอบสนองดูแลที่แตกต่างกันได้ในแต่ละราย เนื่องจากผู้มีภาวะสมองเสื่อมมีความเป็นปัจเจกชน มีภูมิหลัง ประสบการณ์ชีวิต พื้นฐานความชอบสิ่งต่าง ๆ ที่หลากหลาย ดังนั้นผู้ดูแลควรคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ในการสร้างแนวทางการดูแลให้มีความเฉพาะเหมาะสมกับผู้มีภาวะสมองเสื่อมรายนั้น
-
การดูแลด้วยความยืดหยุ่น : ผู้ดูแลไม่ควรเร่งรีบ เร่งรัดในการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม โดยยืดหยุ่นเวลาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น ผู้มีภาวะสมองเสื่อมบางรายอาจนอน 1 วัน ตื่น 2 วัน ซึ่งผู้ดูแลอาจปรับตารางกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยให้เหมาะสม นอกจากนี้ควรยืดหยุ่นผลลัพธ์ โดยการลดความคาดหวังต่อผลงานของผู้มีภาวะสมองเสื่อมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ แม้ว่าทำแล้วดูเลอะเทอะ ไม่สะอาดเรียบร้อย ทั้งนี้ผู้ดูแลอาจประเมินดูว่าสิ่งนั้นเมื่อผู้มีภาวะสมองเสื่อมทำแล้วไม่เกิดอันตรายก็สามารถเปิดโอกาสให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมได้ลงมือทำด้วยตนเองให้มากที่สุด เพื่อส่งเสริมความสามารถของผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่มีให้คงอยู่ได้นานที่สุดนั้นเอง
การดูแลด้วยความเคารพ : ในการดูแลผู้สูงวัยไม่ว่าท่านจะเจ็บป่วยด้วยกลุ่มโรคใดก็ตาม ผู้ดูแลควรให้การดูแลด้วยความเคารพในความอาวุโสและความเป็นมนุษย์ของท่าน โดยให้การดูแลอย่างอ่อนโยน นิ่มนวล และสุภาพเรียบร้อย
การดูแลโดยผู้มีภาวะสมองเสื่อมเป็นศูนย์กลาง : คำว่าเป็นศูนย์กลางคือการดูแลเพื่อตอบสนองให้ตรงกับความต้องการของผู้มีภาวะสมองเสื่อมมากกว่าความต้องการของผู้ดูแล ทั้งนี้เพื่อให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมได้รับการดูแลที่เหมาะสมกับตนเอง และจะช่วยทำให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมร่วมมือในการดูแลมากยิ่งขึ้น
การดูแลโดยคำนึงถึงความเป็นตัวตน : ปัญหาการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมแต่ละรายส่วนใหญ่อาจมีความคล้ายคลึงกัน เช่น ต่อต้านผู้ดูแลในการทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่ปัญหาเดียวกันอาจมีวิธีการตอบสนองดูแลที่แตกต่างกันได้ในแต่ละราย เนื่องจากผู้มีภาวะสมองเสื่อมมีความเป็นปัจเจกชน มีภูมิหลัง ประสบการณ์ชีวิต พื้นฐานความชอบสิ่งต่าง ๆ ที่หลากหลาย ดังนั้นผู้ดูแลควรคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ในการสร้างแนวทางการดูแลให้มีความเฉพาะเหมาะสมกับผู้มีภาวะสมองเสื่อมรายนั้น
การดูแลด้วยความยืดหยุ่น : ผู้ดูแลไม่ควรเร่งรีบ เร่งรัดในการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม โดยยืดหยุ่นเวลาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น ผู้มีภาวะสมองเสื่อมบางรายอาจนอน 1 วัน ตื่น 2 วัน ซึ่งผู้ดูแลอาจปรับตารางกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยให้เหมาะสม นอกจากนี้ควรยืดหยุ่นผลลัพธ์ โดยการลดความคาดหวังต่อผลงานของผู้มีภาวะสมองเสื่อมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ แม้ว่าทำแล้วดูเลอะเทอะ ไม่สะอาดเรียบร้อย ทั้งนี้ผู้ดูแลอาจประเมินดูว่าสิ่งนั้นเมื่อผู้มีภาวะสมองเสื่อมทำแล้วไม่เกิดอันตรายก็สามารถเปิดโอกาสให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมได้ลงมือทำด้วยตนเองให้มากที่สุด เพื่อส่งเสริมความสามารถของผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่มีให้คงอยู่ได้นานที่สุดนั้นเอง
ถึงแม้ว่าในแต่วันของการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมจะมีโจทย์ให้ผู้ดูแลต้องตอบสนองไปให้ได้ แต่หวังเป็นอย่างยิ่งว่า 4 เคล็ดลับหลักสำคัญในการดูแลข้างต้นจะช่วยให้ผู้ดูแลสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมได้โดยง่ายไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตามหัวใจหลักที่สำคัญที่สุดของการดูแลนั้นคือหัวใจแห่งความรักและปรารถนาดีของผู้ดูแลที่มีต่อผู้มีภาวะสมองเสื่อมทุกคน
พว. จิรากร กันทับทิม
พยาบาลประจำศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ยังไม่มีความคิดเห็น คุณเป็นคนแรกที่แสดงความเห็น